มาแล้วๆ ห่างหายไปนาน คิดถึงเวลาเก่า ๆ จังเลยโน๊ะ .... และเมนูวันนี้ของเราคือ เค้กซาวน์ครีมนั่นเอง พูดถึงเค้กซาวน์ครีมแล้วหลาย ๆ คนอาจเคยทานกับมาบ้างแล้ว แอดเลยจะพาไปรู้จักกับเจ้าซาวน์ครีมให้มากกว่านี้คะ Sour cream (ครีมเปรี้ยว) คือ ผลิตได้จากการหมักครีมไขมันเนยร้อยละ 18 ด้วยแล็กทิกแบคทีเรีย เช่น Streptococcus lactic และ Streptococcus cremoris รวมทั้งแบคทีเรียสร้างกลิ่น เช่น Leuconostoc cirtovorum และ Leuconostoc dextrainicum แบคทีเรียกลุ่มแรกเปลี่ยนแล็กโทสไปเป็นกรดแล็กติก และผลพลอยได้ (by-product) คือกรดซิตริกซึ่งถูกเปลี่ยนไปเป็นไดแอซีติล (diacetyl) โดยแบคทีเรียกลุ่มหลัง การสร้างกรดเกิดที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส และยังเป็นการป้องกันการเน่าเสียจากจุลินทรีย์พวกชอบเจริญที่อุณหภูมิสูง ในสหรัฐอเมริกาเรียกครีมชนิดนี้ว่า Acidified sour cream ผลิตจากการทำให้เป็นกรดโดยตรงซึ่งอาจจะใช้แล็กทิกแบคทีเรียหรือไม่ก็ตาม ประเทศไทยกำหนดให้ครีมเปรี้ยวมีมันเนยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เห็นไหมหล่ะว่ากลับมารอบนี้ เราไม่ได้กะว่าจะกิน เอ๊ย!! เราไม่ได้มากันเล่นๆนะคะ บอกเลยยย อย่าชักช้าเสียเวลาคะ ตามไปเก็บสูตรกันเลยยย ได้แล้ว ซาวน์ครีมเค้กของเรา วิปปิ้งครีมโป๊ะตามด้วยผลไม้สด หรือจะทานเปล่าๆคู่กับกาแฟยามบ่าย น่าจะเข้าท่าดีแท้ .... กิกิ ส่วนผสม
1. เนยสด (อุณหภูมิห้อง) 1 + 1/2 ถ้วยตวง 2. น้ำตาล 3 ถ้วยตวง 3. ไข่ไก่ฟองใหญ่ (เบอร์0) 6 ฟอง 4. แป้งสาลีเอนกประสงค์ 3 ถ้วยตวง 5. เกลือ 1/2 ช้อนชา 6. เบคกิ้งโซดา 1/4 ช้อนชา 7. ครีมเปรี้ยว 8 ออนซ์ 8. กลิ่นเลม่อน 1 ช้อนชา 9.กลิ่นอัลมอนต์ 1/4 ช้อนชา สำหรับตกแต่ง 1. วิปปิ้งครีม 2. ผลไม้ตระกูลเบอรี่สด วิธีทำ 1. เปิดเตาที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส (350 F) ร่อนส่วนผสมของแห้ง (แป้ง + เบคกิ้งโซดา + เกลือ) พักไว้ 2. เตรียมเครื่องผสมอาหาร ใช้หัวตีใบไม้ความเร็วปานกลางของเครื่อง ตีเนยสดจนเป็นเนื้อครีม จากนั้นเติมน้ำตาล ตีต่อจนเป็นเนื้อครีมฟูสีขาว เติมไข่ทีละฟอง (1 ฟอง ต่อ 1 นาที) จนครบ ตีจนส่วนผสมเข้ากันดี 3. ใช้ความเร็วเครื่องผสมระดับต่ำ เติมส่วนผสมของแห้งที่ร่อนไว้ โดยแบ่งเติม 3 ครั้ง สลับกับ ครีมเปรี้ยว 2 ครั้ง (แป้ง - ครีมเปรี้ยว - แป้ง - ครีมเปรี้ยว - แป้ง) จนกระทั้งเนื้อเค้กเข้ากันได้ดี เติมกลิ่น เลม่อนและกลิ่น อัลมอนต์ ผสมให้เข้ากันอีกครั้ง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการผสมแป้ง :) ตักใส่พิมพ์ ประมาณ 1/2 ของพิมพ์ (สำหรับตกแต่งหน้าเค้ก) หรือ ประมาณ 3/4 ของพิมพ์ (เค้กฟูเต็มถาด) 4. นำเข้าเตาอบ ประมาณ 20-30 นาที เช็คความสุกของขนมจากกลิ่นขนมหรือใช้ไม้แหลม 5. เมื่ออบเสร็จแล้ว ทิ้งเค้กไว้ให้เย็น จัดเสิร์ฟตกแต่งด้วยวิปปิ้งครีมและผลไม้สด ทานคู่กับชา หรือกาแฟ เจริญพุงดีนักแล *****ปล. นำเนื้อเค้กมาแรป สามารถเก็บเค้กไว้ได้ 3 วัน หรือ แรปแล้วนำเข้าช่องแช่แข็ง สามารถเก็บได้ 2 เดือนหรือมากกว่า 2 เดือน******
0 Comments
Leave a Reply. |
Categoriesมาทำขนมกันเถอะ ^^ผู้เเต่งZaRa-A (สะ-ระ-เอ) ผู้เเต่งJUJUIT จูจุ๊ยเป็นนักออกแบบที่ฝันว่าวันนึงจะได้เป็นฟู้ดดีไซน์เนอร์ <3 Archives
July 2016
|